วันพฤหัสบดีที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ปัญหาโลกร้อนกับความร่วมมือในระดับประเทศ

จุดเริ่มของการตระหนักถึงปัญหาสภาวะโรคร้อนเกิดขึ้นเมื่อที่ประชุมสหประชาชาติเห็นพ้องต้องกันถึงปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงสภาวะแวดล้อมของโลกจึงได้มีการร่างอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ((United Nations Framework Convention on Climate Change-UNFCCC) เพื่อใช้รับมือกับสภาวะโลกร้อนโดยมีเป้าหมายว่า ประเทศอุตสาหกรรมซึ่งเป็นกลุ่มประเทศตัวจักรสำคัญในการเพิ่มปริมาณก๊าซเรือนกระจกขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศ โดยอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศมีเป้าหมายให้ประเทศอุตสหกรรมลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศให้มีปริมาณเท่ากับการปล่อยกาซเรือนกระจกเข้าสู่ชั้นบรรยากาศในปี พ.ศ. 2533 ให้ได้ภายในปี พ.ศ.2543 ซึ่งเป็นการรักษาระดับปริมาณก๊าซเรือนกระจกในบรรยากาศให้อยู่ในระดับคงที่และไม่ส่งผลกระทบต่อโลกมนุษย์มากจนเกินไป ทั้งยังสามารถเป็นหลักประกันได้ว่าความอุดมสมบูรณ์เรื่องการกินการอยู่ ผลผลิตทางการเกษตรจะไม่ถูกรุกเร้าจากสภาวะโลกร้อนมากไปกว่าที่เป็นอยู่ ก๊าซเรือนกระจกที่ อนุสัญญาฯดังกล่าวบังคับควบคุมคือ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2)ไนตรัสออกไซด์ (N2O) มีเทน (CH4) และ สารทดแทน CFC 
               จนกระทั่งในปีพ.ศ. 2535 ในการประชุมของสหประชาชาติ ณ กรุงริโอเดอจาเนโร ประเทศ บราซิล ประเทศต่างๆได้ลงนามเพื่อรับรองอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลง สภาพภูมิอากาศ (United Nations Framework Convention on Climate Change, UNFCCC)

               สำหรับประเทศไทยเองก็ได้ลงนามให้สัตยาบรรณในอนุสัญญาฯฉบับนี้ด้วยเช่นกัน  โดยมีพันธกิจที่ต้องรับผิดชอบคือ การร่วมรับผิดชอบในการลดปริมาณก๊าซเรือนกระจก  รวมไปถึงการจัดทำรายงานเพื่อเสนอต่อเลขาธิการอนุสัญญาฯซึ่งเปรียบเสมือนการรายงานความคืบหน้าเกี่ยวกับการควบคุมปริมาณก๊าซเรือนกระจกให้กับประชาคมโลกได้รับทราบ  ทั้งยังดำเนินการศึกษาด้านวิชาการที่เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ และ เข้าประชุมเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ทางด้านเทคนิค

               แต่ปัญหาของอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ((United Nations Framework Convention on Climate Change-UNFCCC) ดังกล่าวคือการไม่มีสภาพบังคับอย่างแท้จริง และไม่ได้รับความร่วมมือในทางปฏิบัติเท่าที่ควร จึงเกิดแนวคิดกับการทำให้อนุสัญญาดังกล่าวมีผลบังคับใช้จริงๆ 

               ดังนั้นในการประชุมสมัชชาประเทศสมาชิกที่เคยให้สัตยาบันรับรองอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ที่ประชุมจึงเห็นสมควรว่าควรจะมีการจัดตั้งคณะทำงานขึ้นเพื่อร่างข้อตกลงให้มีการบังคับใช้ อนุสัญญาฯ โดยได้มีการจัดตั้งคณะทำงานเฉพาะกิจเพื่อทำการร่างกฎกติกาดังกล่าวโดยคณะทำงานเฉพาะกิจได้ใช้เวลาในการร่างพิธีสารดังกล่าวถึง 2 ปีครึ่ง ซึ่งเป็นที่มาของ พิธีสารเกียวโต(Kyoto Protocol) นั้นเอง 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น